Y (ชุดที่ 1) - Yawning

        หาวเป็นอาการที่เกือบทุกคนมีเป็นประจำ เวลาง่วง เบื่อหรือเห็นคนใกล้เคียงหาวก็หาวบ้าง  ผู้เขียนกำลัง
คิดจะเขียนเรื่องนี้ก็บังเอิญได้อ่านเรื่องของอาจารย์วรชัย ทองไทย แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย
มหิดล อ่านแล้วสนุกได้ความรู้เพิ่มเติมก็เลยอ้างอิงถึง  อาจารย์วรชัยพูดถึงเรื่องนักวิจัยจากยุโรปที่ได้รางวัลอีกโนเบล
(Ig Nobel Award) สาขาสรีรวิทยา ปีล่าสุด (พ.ศ. 2554) เรื่องในหมู่เต่าเท้าแดง การหาวจะไม่ติดต่อกันเหมือน
สัตว์อื่นและคน  หลายท่านคงจะรู้จักรางวัลนี้ที่ล้อเลียนรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ที่นักวิจัยสหรัฐอเมริกาจาก
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) และเอ็มไอที (MIT) จัดให้มีขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน (ค.ศ. 1991) วิจัยที่ได้รางวัล
จะต้องเป็นเรื่องที่ขบขันแต่ชวนให้คิด เป็นเรื่องไม่มีสาระสำคัญอะไรมากแต่จริง!

        กลับมาพูดเรื่องหาวทางการแพทย์มีรายงานในผู้ป่วยสมองอักเสบซึมง่วง (Encephalitis Lethargica)
เนื้องอกสมอง มัลติเปิลสเคอโรสิสและสมองขาดเลือด แต่ที่เป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบแน่ชัดก็คือ ทำไมเราถึงหาว
จุดเริ่มต้นในสมองอยู่ที่ไหน   วิมาลารัตน์และคาปิลดิโอ (Wimalaratana & Capildeo) จากสหราชอาณาจักร
รายงานจากการสังเกตและศึกษาผู้ป่วยอัมพาตจากสมองขาดเลือดเชื่อว่า อาการหาวเป็นเรื่องที่เจ้าตัวทำไปโดย
ไม่ตั้งใจ (involuntary) เป็นส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับ pyramidal tract  ดูจะเริ่มต้นที่ก้านสมองระดับต่ำกว่า pons
เหมือนมีศูนย์เริ่มอาการหาวที่ medulla ซึ่งเขาเรียก Yawning initiating centre (YIC)  เราอาจจะกระตุ้นให้เกิด
อาการหาวได้จากยา เช่น apomorphine หรือยากระตุ้น D2 autoreceptor โดยตรงตัวอื่น  ผู้ป่วยพาร์กินสันชายที่ได้
รับยานี้พอเริ่มจะขยับเคลื่อนไหวได้หรือที่เริ่มเข้าช่วง “on” มักจะหาวและบางครั้งมีอวัยวะเพศแข็งตัวด้วย


เอกสารอ้างอิง
1.  วรชัย ทองไทย.  รางวัลอีกโนเบล.  หาว.  ประชากรและการพัฒนา  2555  ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 หน้า 8.

2.  Cattaneo L, Cucurachi L, Chierici E, et al.  Pathological yawning as a presenting symptom of brain 
     stem ischaemia in two patients.  J Neurol Neurosurg Psychiatry  2006; 77: 98-100.

3.  Perriol M-P, Monaca C.  Yawning.  “One person yawning sets off everyone else”.  J Neurol Neurosurg
     Psychiatry  2006; 77: 3. 

4.  Wimalaratana HS, Capildeo R.  Is yawning a brainstem phenomenon?  Lancet 1988; i: 300.
      
5.  Argiolas A, Melis MR.  The neuropharmacology of yawning.  Eur J Pharmacol  1998; 343: 1-16. 

6.  Goren JL.  Friedman JH.  Yawning as an aura for an L-dopa-induced “on” in Parkinson’s disease. 
     Neurology  1998; 50: 823. 

7.  Neurology Correspondence.  Yawning in Parkinson’s disease.  Neurology  1999; 52: 428. 

 

     

 

 

[ back ]