O (ชุดที่ 4) - Obesity

Obesity

        ภาวะน้ำหนักตัวเกินและอ้วนมากเพิ่มขึ้นเกือบทั่วโลก เมื่อ ค.ศ. 2010 พบว่าแต่ละปีคนตายประมาณ
2 ล้านแปดแสนคนจากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) สูงผิดปกติ และปัจจัยเสี่ยงทางโภชนาการ
เช่น กินเกลือโสเดียมมากกินผลไม้น้อยรวมทั้งการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมกันเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 10
ของ global disability-adjusted life-years  ในปีต่อมาได้มีข้อสรุปว่าระบบอาหารทั่วโลกที่ส่งเสริมการรับประทาน
อาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงแต่คุณค่าทางโภชนาการต่ำมีส่วนสำคัญในการทำให้ภาวะอ้วนมากระบาดทั่ว
และในปี ค.ศ. 2012 ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกถึงกับตั้งเป้าลดอัตราตายจากโรคไม่ติดต่อที่หลีกเลี่ยงได้
อาทิเช่น ภาวะอ้วนมากถึงร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 2025

        ในช่วงระยะ 3-4 ปีที่ผ่านความพยายามที่จะลดภาวะอ้วนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงถึงเวลาที่ทั่วโลก
ควรจะต้องคิดหายุทธศาสตร์และวางกรอบแผนปฏิบัติใหม่ มีผู้เสนอให้ใช้มาตรการเข้มงวดขึ้นเริ่มตั้งแต่เด็กทารก
เพื่อไม่ให้มีเด็กที่น้ำหนักเกินและเสนอให้เน้นปัจเจกบุคคลและปัจจัยแวดล้อมในเรื่องภาวะนี้ร่วมมือกันในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว  นอกจากนี้ยังเสนอการวางนโยบายเรื่องอาหารใหม่ เช่น

        1) ปรับเปลี่ยนการเลือกอาหารที่เป็นพฤติกรรมการกินที่ได้จากพ่อแม่ คนเลี้ยงดูหรือคนที่เป็นแบบอย่าง
ตามธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ถูกสุขลักษณะให้ถูกโดยการให้ข้อมูล ประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ดีได้

        2)  เสนอแก้ไขและแสวงหาวิธีที่ทดแทนอาหารที่ดีที่มักจะมีราคาแพงและไม่สามารถเข้าถึงได้สำหรับ
ผู้ที่มีเศรษฐฐานะต่ำ

        3)  การทบทวนแนวคิดเรื่องปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะอ้วนมากซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนที่ต้องการ
ความร่วมมือของทุกฝ่าย

        ก็เป็นที่หวังกันว่า ในปี ค.ศ. 2025 ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนมากคงเป็นเรื่องหนึ่งในบรรดาโรค
ไม่ติดต่อที่หลีกเลี่ยงได้ ลดลงได้ร้อยละ 25 ตามความคาดหวัง


แนะนำเอกสาร
1)  Gortmaker SL, Swinburn BA, Levy D, et al.  (2011).  Changing the future of obesity:  science, 
     policy, and action.  Lancet.  378 : 838-847.

2)  Horton R.  (2013).  Non-communicable diseases:  2015-2025.  Lancet.  381 : 509-510.

3)  Kleinert S, Horton R.  (2015).  Rethinking and reframing obesity.  Lancet.  385 : 2326-2328.

4)  Roberto CA, Swinburn BA, Hawkes C, et al.  (2015).  Obesity 1.  Patchy progress on obesity 
     prevention:  emerging examples, entrenched barriers, and new thinking.  Lancet.  385 : 2400-2409.

5)  Hawkes C, Smith TG, Jewell J, et al.  (2015).  Obesity 2.  Smart food policies for obesity prevention.  
     Lancet.  385 : 2410-2421.

6)  Huang TT-K, Cawley JH, Ashe M, et al.  (2015).  Obesity 3.  Mobilisation of public support 
     for policy actions to prevent obesity.  Lancet.  385 : 2422-2431.

 

 

[ back ]