T (ชุดที่ 1) - Tourette's Syndrome

      - Georgs Gilles de la Tourette (1857-1904)
       
                  
กล้ามเนื้อที่หน้า ที่คอหรือที่แขนขากระตุกซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจพร้อมทั้งเปล่งเสียงบางครั้ง
เป็นคำหยาบคาย (coprolalia) เป็นอาการที่เกิดตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่นรู้จักกันในนามกลุ่มอาการ
ยิลล์เดอลาตูแรตต์ (Gilles de la Tourette's syndrome) ชื่อประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้ค้นพบ
เมื่อ ค.ศ. 1884  ในประเทศไทยจิตแพทย์และประสาทแพทย์ในปัจจุบันก็รู้จักกลุ่มอาการนี้กันดี
ซึ่งมักพบร่วมกับอาการสมาธิสั้นและอาการอยู่ไม่สุขในเด็ก  มีรายงานการศึกษาทางพันธุกรรม
เพิ่มขึ้นซึ่งตูแรตต์เองก็ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น  Tourette's syndrome (TS) พบได้ไม่น้อยและ
อาการเช่น การกล่าวคำหยาบโดยไม่เจตนาทำความเดือดร้อนแก่ผู้ป่วย   เนื่องจากสามารถรักษา
อาการได้ด้วยยาที่หาง่าย เช่น haloperidol แพทย์ทั่วไปจึงควรทราบขอแนะนำให้อ่านจาก
เอกสารอ้างอิงที่ให้ไว้

ยอร์จ ยิลล์เดอลาตูแรตต์มีประวัติที่น่าสนใจมากเกิดเมื่อ ค.ศ. 1857 ที่ใกล้เมืองลูเดิง
ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 300 กิโลเมตร  ตูแรตต์เรียนสำเร็จเป็นแพทย์
ที่เมืองปัวติเอ เมื่ออายุได้ 20 ปีและไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลซาลแปตตริแอร์
ในปารีส  โชคดีได้ทำงานกับฌอง-มาร์แตง ชาร์โก ปรมาจารย์ทางประสาทวิทยา ซึ่งบังเอิญติดใจ
และชอบการทำงานของตูแรตต์ทั้งๆ ที่เพื่อนของเขาและแพทย์อื่นที่รู้จักตูแรตต์คิดว่าเขาเป็นคนคิด
และทำอะไรแผลงๆ ออกนอกกรอบเสมอแต่เป็นนักสู้และร่าเริง  นอกจากเรื่อง TS ซึ่งเขารวบรวม
รายงานไว้เมื่อเขาอายุเพียง 27 ปีก็มีเรื่องฮีสทีเรีย (hysteria) และลมชัก เป็นต้น  ที่สำคัญตูแรตต์
เป็นผู้รวบรวมบทความของชาร์โกต์พิมพ์เป็นเล่มถึง 3 เล่ม นอกจากจะเป็นนักเขียน นักวิจารณ์ละคร
และสังคมทั่วไปโดยใช้นามปากกาว่า พาราเซลสัส (Paracelsus)!  ตูแรตต์อายุสั้นถึงแก่กรรมด้วย
โรคซิฟิลิสขึ้นสมองเมื่ออายุได้เพียง 47 ปี 


เอกสารอ้างอิง
1.  อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ   กระตุกไปด่าไป  ใน หนังสือเรียนอายุรศาสตร์จากกรณีผู้ป่วย เล่ม 2
     บริษัท ซิล์คโรดพับบลิเชอร์เอเยนซี จำกัด  พ.ศ. 2545  หน้า 189-94    
     
2.  อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ   Tourette's Syndrome  ใน หนังสือเรียนอายุรศาสตร์จากกรณีผู้ป่วย 
     เล่ม 3  บริษัท ซิล์คโรดพับบลิเชอร์เอเยนซี จำกัด  พ.ศ. 2546  หน้า 241

3.  อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ   Tourette's Syndrome  ใน หนังสือเรียนอายุรศาสตร์จากกรณีผู้ป่วย 
     เล่ม 4  บริษัท ซิล์คโรดพับบลิเชอร์เอเยนซี จำกัด  พ.ศ. 2547  หน้า 222-23

4.  Bhidayasiri R, Locharernkul C, Phanthumchinda K.  Tourette's Syndrome:
     Old syndrome, New insights and new treatment.  J Med Assoc Thai  2005;
     88 (Suppl 4): S339-S347. 

5.  Djebara MB, Worbe Y, Sch?pbach M, Hartmann A.  Aripiprazole: A treatment 
     for severe coprolalia in "refractory" Gilles de la Tourette syndrome.  
     Mov Disord  2008; 23: 438-40.

6.  Kushner HI, Cortes D.  Gilles de la Tourette's syndrome.  In: Neurological 
     Eponyms.  Eds. Koehler PJ, Bruyn GW, Pearce JMS.  Oxford University Press,
     Oxford, 2000; pp.212-18.

 

[ back ]