S (ชุดที่ 1) - Sneezing

จาม (sneeze) คล้ายอาการคันที่พบในคนปกติทั่วไปได้ถ้าเกิดมีสิ่งไปกระตุ้นหรือระคายประสาทรับรู้  
เราจะจามถ้าประสาทรับความรู้สึกในจมูก (naso-palatine nerve ซึ่งเป็นแขนงย่อยแขนงหนึ่งของแขนงที่สองหรือ maxillary division ของประสาทศีรษะเส้นที่ห้าหรือ trigeminal nerve) ได้รับการกระตุ้นโดยเราจะหายใจเข้าแล้วหายใจออกแรงพร้อมทั้งเปล่งเสียงอย่างที่รู้ๆ กัน  อย่างเช่นเราจามเพราะเราแพ้ไรฝุ่นหรือแพ้เกสรดอกไม้ในอากาศที่เราหายใจ  แต่อาการจามอาจเกิดจากการกระตุ้นเซลล์ประสาทในก้านสมองส่วนล่างบริเวณ medulla ชิดกับ spinal trigeminal tract และ nucleus เรียกได้ว่าเป็นศูนย์การจามหรือ sneeze centre ซึ่งมีทั้งซ้ายและขวา  มีรายงานผู้ป่วยเนื้องอกก้านสมองและผู้ป่วยก้านสมองขาดเลือด (Lateral medullary syndrome) ที่จะจามแต่จามไม่ได้  รายงานที่น่าสนใจมากคือ รายงานผู้ป่วยหญิงอายุ 23 ปีมี demyelination จากโรค SLE เห็นจากภาพ MRI เมื่อเริ่มเป็นและติดตามด้วยการทำ MRI ซ้ำอีก 8 เดือนต่อมาเมื่อผู้ป่วยดีขึ้นมากยกเว้นจามไม่ได้อย่างเดียว เห็นรอยโรคที่ศูนย์การจามที่ medulla ชัดเจน

รีเฟลกซ์จาม (Sneeze reflex) เป็นเรื่องที่แพทย์สนใจกันมานาน เคยมีรายงานการศึกษาใน
นักศึกษาแพทย์หญิงรายหนึ่งที่จามตรงเวลาถึง 118 ครั้งใน 69 วันจนผู้รายงานสรุปว่า เป็นเรื่องของจังหวะชีวภาพ (circadian rhythm)  นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องแสงแดดและที่พิสดารก็คงจะเป็นรายงานของจิตแพทย์อาวุโสเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับผู้ป่วยชายวัยกลางคนที่จามทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องจะร่วมเพศหรือเมื่อมีความเสียว
สุดยอดทางเพศ (orgasm)


เอกสารอ้างอิง
1.  Fink JN.  Localization of the "sneeze center".  Neurology  2001; 56: 138. 

2.  Suranyi L.  Localization of the "sneeze center".  Neurology  2001: 57: 161.  

3.  Seijo-Martinez M, Varela-Freijanes A, Grandes J, Vazquez F.  Sneeze related area 
     in the medulla:  localisation of the human sneezing centre?  J Neurol Neurosurg 
     Psychiatry  2006; 77: 559-61.

4.  Whitman BW, Packer RJ.  The photic sneeze reflex: literature review and 
     discussion.  Neurology  1993; 43: 868-71.

5.  Everett HC.  Sneezing in response to light.  Neurology  1964; 14: 483-90.

6.  Grant AC, Roter EP.  Circadian sneezing.  Neurology  1994; 44: 369-375.

7.  Brubaker AP.  The physiology of sneezing.  JAMA  1919; 73: 585-87.

8.  Bhutta MF, Maxwell H.  Sneezing induced by sexual ideation or orgasm: an under-
     reported phenomenon.  J R Soc Med  2008; 101: 587-91.

 

[ back ]