G (ชุดที่ 1) - Gait

ท่าทางเดินที่ผิดปกติเป็นสัญญาณโรคได้ดีโดยเฉพาะโรคทางระบบประสาท  ใน 30 ปีที่ผ่าน
วิวัฒนาการทางด้านการตรวจพิเศษและความรู้พื้นฐานทางประสาทวิทยาศาสตร์ทำให้ความสนใจในเรื่อง
การเดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งแพทย์มักจะใช้ข้อสังเกตจากการเดินที่ผิดปกติของผู้ป่วยบอกตำแหน่ง
รอยโรค เช่น ผู้ป่วยเดินมีเท้าตก (foot drop) จาก lateral popliteal nerve palsy  ท่าทางเดินของผู้ป่วย
ที่มีอัมพาตครึ่งซีกและท่าเดินช้าๆ ของผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน เป็นต้น  แต่ปัจจุบันการตรวจทางเวชกรรม
เกี่ยวกับเรื่องท่าทางเดินในผู้สูงอายุเป็นที่สนใจของแพทย์และนักวิจัยมาก

การค้นพบตำแหน่งที่เนื้อสมองส่วนกลางที่เรียก Pedunculo Pontine Nuclei (PPN) เป็นเสมือนศูนย์สั่งการเริ่มต้นการเดินของคน จากการค้นพบในผู้ป่วยที่มีรอยโรค ณ ตำแหน่งดังกล่าวโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุจากหลอดเลือดแดงอุดตันและโรคสมองเสื่อมชนิดต่างๆ ได้มีส่วนทำให้การศึกษาทางเวชกรรมควบไปกับการตรวจด้วย Magnetic Resonance Imaging (MRI) และผลจากการกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation หรือ DBS) นำไปสู่การศึกษาเรื่องผู้ป่วยที่มีท่าเดินหยุดนิ่งจากโรคประสาทเสื่อมปฐมภูมิ (Primary Progressive Freezing of Gait) และอาการท่าทางเดินหยุดนิ่งจากโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ เช่น โรคพาร์กินสัน  โรค Corticobasal Degeneration (CBD) และโรค Progressive Supranuclear Palsy (PSP)  นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าในผู้ป่วยสูงอายุที่มีท่าเดินผิดปกติจาก  
เริ่มต้นซึ่งพบเป็นจำนวนไม่น้อยพบความเกี่ยวข้องกันระหว่างท่าเดินผิดปกติกับการพบ White Matter Hyperintensities (WMH)  นอกจากนี้ยังอาจใช้ท่าทางเดินที่เริ่มผิดปกติในผู้สูงอายุเป็นตัวพยากรณ์การเกิดโรคสมองเสื่อมโดยเฉพาะชนิดที่ไม่ใช่สมองเสื่อมจากโรคอัลซ์ไฮเมอร์  และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีการศึกษาพบท่าทางเดินที่เริ่มช้าลงในคนสูงวัยว่ามีส่วนสัมพันธ์กับกิจกรรมของเซลล์ประสาทและการไหลเวียนของโลหิตที่ไปเลี้ยงประสาทส่วนนั้นๆ โดยใช้คำ neurovascular coupling หรือ NVC สำหรับความสัมพันธ์ที่กล่าว

แนะนำเอกสาร
1.  Jellinger K.  The pedunculopontine nucleus in Parkinson’s disease, progressive  
    supranuclear palsy and Alzheimer’s disease.  J Neurol Neurosurg Psychiatry  1988;  
     51: 540-43. 

2.  Kuo S-H, Kenney C, Jankovic J.  Bilateral Pedunculopontine Nuclei Strokes 
    Presenting as Freezing of Gait.  Mov Disord  2008; 23: 616-19.

3.  Factor SA, Higgins DS, Qian J.  Primary progressive freezing gait: A syndrome  
    with many causes.  Neurology  2006; 66: 411-14.

4.  Verghese J, Lipton RB, Hall CB, Kuslansky G, Katz MJ, Buschke H.  Abnormality 
    of Gait as a Predictor of Non-Alzheimer’s Dementia.  N Engl J Med  2002; 347: 
     1761-68.

5.  Whitman GT, Tang T, Lin A, Baloh RW.  A prospective study of cerebral white 
     matter abnormalities in older people with gait dysfunction.  Neurology  2001; 57:   
      990-94.

6.  Stolze H, Klebe S, Baecker C, Zechlin C, Friege L, Pohle S and Deuschl G.  
    Prevalence of Gait Disorders in Hospitalized Neurological Patients.  Mov Disord  
     2005; 20: 89-94.

7.  Rolita L, Verghese J.  Neurovascular Coupling: Key to Gait Slowing in Aging?  
    Ann Neurol  2011; 70: 189-90. 

 

[ back ]